ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

เกิด-ดับ รัฐธรรมนูญไทย 18 ฉบับ

1. ประวัติรัฐธรรมนูญไทย

พระ บาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญ ในวันพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475
"ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ"

ข้อความข้างต้นปรากฏอยู่บน "หมุดประชาธิปไตย" ที่ถูกตอกไว้ ณ จุดเดียวกับที่ พระยาพหลพลพยุหเสนา หนึ่งในแกนนำของคณะราษฎรอ่านคำประกาศ ต่อหน้าเหล่าทหารที่ถูกเกณฑ์มาเป็นสักขีพยานแห่งการปฏิวัติ เมื่อ 75 ปีก่อน

คณะราษฎรตอกหมุดลงพื้นเพื่อตอกย้ำในวันหลัง

ถือเป็นการประทับตราแห่งชัยชนะ ให้ระลึกถึงการ "อภิวัตน์" เปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์ มาเป็น ประชาธิปไตย

ในหมุดจารึกถึง "...รัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ"
ถึงวันนี้ ลองนับดู ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญใช้แล้วถึง 18 ฉบับ (รวมฉบับล่าสุด 2550)

คำ ว่า รัฐธรรมนูญ (Constitution) ตามความหมายที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ไว้ หมายถึง บทกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบในการปกครองประเทศ โดยกำหนดรูปแบบของรัฐว่าเป็นรัฐเดียวหรือรัฐรวม ระบอบการปกครองของรัฐ รวมทั้งสถาบันและองค์กร การใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองรัฐ

ทุก ประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเทศ อาจจะเป็นลายลักษณ์อักษร หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวกับการปกครอง ถือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ

สำหรับรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ใครบางคนเคยแซวไว้ในเพลง "...รัฐธรรมนูญ ฉีก ฉีก แล้วก็เขียน...ฉีก ฉีก เขียน เขียน เขียนแล้วก็โดนฉีก..." ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ ทำไมบ้านเราถึงได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ใช้ "รัฐธรรมนูญ" เปลืองที่สุดประเทศหนึ่ง

เหตุก่อเกิดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับเป็นอย่างไร? เหตุแห่งการถูกฉีกถูกย่ำของแต่ละฉบับมาจากอะไร? ลองไล่เรียงดู



@ รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 1 : พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
เกิด จากคณะราษฎรซึ่งทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ได้จัดร่างฯขึ้น มีจำนวน 39 มาตรา โดยหลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย

ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 หรือหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 3 วัน

ต่อมาได้ "ยกเลิก" รัฐธรรญนูญฉบับนี้ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 เนื่องจากได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร

รวมระยะเวลาที่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ทั้งสิ้น 5 เดือน 13 วัน

มี นายกรัฐมนตรีบริหารประเทศ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ 1 ชุด คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (สมัยที่ 1: 28 มิถุนายน 2475-10 ธันวาคม 2475)



@ รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 2 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475
เกิด จากสภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมการยกร่างฯขึ้น เพื่อใช้เป็นรัฐธรรรมนูญฉบับถาวร มีจำนวน 68 มาตรา ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ซึ่งต่อมาถือเป็น "วันรัฐธรรมนูญ"

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถือเป็นฉบับถาวรที่มีระยะเวลาบังคับใช้นานที่สุด

โดยได้ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 รวมระยะเวลาประกาศใช้ทั้งสิ้น 13 ปี 4 เดือน 29 วัน

ส่วน สาเหตุยกเลิกนั้น เนื่องมาจากเห็นว่า ใช้มานานแล้ว เหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนไปมาก ควรมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 นี้ มีรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศถึง 14 ชุด



@ รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 3 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489

มี ที่มาจาก ส.ส.ประเภทที่ 2 ที่ร่วมกันเสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาผู้แทนราษฎร และสภาพิจารณาแล้วอนุมัติ มีจำนวนมาตรา 68 มาตรา โดยประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 ก่อนจะสิ้นสุด เนื่องจากมีการรัฐประหาร ภายใต้การนำของ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ทำการยึดอำนาจ และประกาศยกเลิกเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490

รวมระยะเวลาประกาศใช้ 1 ปี 5 เดือน 30 วัน




พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญ ในวันพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475
@ รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 4 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490

หลัง จากที่ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ทำการรัฐประหาร ได้ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวขึ้นมาใช้ มีจำนวน 98 มาตรา ประกาศใช้เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2490 และยกเลิกเมื่อ 23 มีนาคม 2492 เนื่องจากได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร

รวมระยะเวลาที่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 นี้ 1 ปี 4 เดือน 14 วัน

มีรัฐบาล 3 ชุด คือ พ.ต.ควง อภัยวงศ์ 2 สมัย และ จอมพล ป.พิบูลสงคราม อีก 1 สมัย



@ รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 5 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492

มี ที่มาจากสภาร่างรัฐธรรมนูญยกร่างฯและพิจารณาแล้วเสนอให้รัฐสภาให้ความเห็น ชอบ ภายหลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวก่อนหน้านี้

โดย รัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 มีจำนวน 188 มาตรา ประกาศใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492 แต่แล้ว 2 ปี 8 เดือน 6 วัน ต่อมา ก็ต้องสิ้นสุดลงไป เมื่อ พล.อ.ผิน ชุณหะวัณ ทำการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลอีกครั้ง และประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494

สำหรับรัฐบาลที่ปกครองประเทศในช่วงรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเพียงชุดเดียวคือ รัฐบาลของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม (สมัยที่ 4)



@ รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 6 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
หลัง จากที่ พล.อ.ผิน ชุณหะวัณ ทำการรัฐประหาร (อีกครั้ง) ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 6 ได้มีพระบรมราชโองการให้ใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยให้นำรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 มาใช้บังคับไปพลาง พร้อมให้ สภาผู้แทนราษฎรปรึกษากันดำเนินการปรับปรุงฉบับใหม่

และเมื่อแล้ว เสร็จ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ก็ได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาผู้แทน และสภาให้ความเห็นชอบ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 6 นี้ในวันที่ 8 มีนาคม 2495 โดยมีจำนวน 123 มาตรา

และในระหว่างที่มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการรัฐประหาร ในวันที่ 16 กันยายน 2500 แต่ทว่าก็ยังคงประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต่อไป กระทั่งวันที่ 20 ตุลาคม 2501 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการรัฐประหารอีกครั้ง คราวนี้ก็ถึงกาลสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 6

รวมระยะเวลาประกาศใช้ทั้งสิ้น 6 ปี 7 เดือน 12 วัน มีรัฐบาลบริหารประเทศรวม 6 ชุด



@ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 : ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502

รัฐ ธรรมนูญฉบับนี้มีเพียง 20 มาตรา คณะรัฐประหารได้นำมาใช้เป็นแนวทางในการปกครองประเทศชั่วคราว โดยประกาศใช้เมื่อ 28 มกราคม 2502 และยกเลิกเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511 รวมเวลา 9 ปี 4 เดือน 23 วัน ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว เห็นได้ชัดว่า

รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับนี้ ประกาศใช้นานมาก

พูด ได้ว่า เป็นช่วงการใช้อำนาจเผด็จการที่ยาวนานที่สุดของไทย แต่สิ่งหนึ่งที่ยืนยันถึงความเป็นเผด็จการเต็มขั้น คือในมาตรา 17 ที่ให้อำนาจ นายกรัฐมนตรีเบ็ดเสร็จ

และมาตรานี้เองที่ทำให้เกิดการ ประหารชีวิตผู้ต้องหาโดยไม่ผ่านการพิจารณาของศาล ทั้งยังมีการล้มเลิก การเลือกตั้ง ในทางการเมืองทุกระดับ มีแต่ การแต่งตั้ง แทน

อำนาจ เบ็ดเสร็จอยู่ที่นายกรัฐมนตรี คือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อนที่นายกฯ ท่านนี้จะ "ตายคาตำแหน่ง" ในวันที่ 8 ธันวาคม 2506 และ จอมพลถนอม กิตติขจร ขึ้นสืบทอดอำนาจเผด็จการต่อภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก่อนที่จะยกเลิกเนื่องจากประกาศใช้ฉบับถาวร



@ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
มี ที่มาจากสภาร่างรัฐธรรมนูญยกร่างและพิจารณาให้ความเห็นชอบ นับเป็น รัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาในการร่างฯนานมาก นับจากวันโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

มีจำนวน 183 มาตรา โดยประกาศใช้ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511 และต้องยกเลิกเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 ด้วยเหตุแห่งการรัฐประหาร ที่นำโดย จอมพล ถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจตัวเอง โดยอ้างว่า "มีบุคคลบางจำพวกอาศัยสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ยุยง บ่อนทำลาย ใช้อิทธิพลทั้งภายในและภายนอกสภานิติบัญญัติก่อกวนการบริหารราชการของ รัฐบาล"

รวมเวลาในการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ 3 ปี 4 เดือน 28 วัน

ผู้ บริหารประเทศ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีเพียงชุดเดียวคือ รัฐบาลของ จอมพลถนอม กิตติขจร (สมัยที่ 3 : 7 มีนาคม 2512-17 พฤศจิกายน 2514)



@ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 9 : ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515

คณะ รัฐประหารได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นแนวทางในการบริหารประเทศไปพลางก่อน โดยประกาศใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 และสิ้นสุดเมื่อ 7 ตุลาคม 2517 รวมเวลา 1 ปี 9 เดือน 22 วัน

มีจำนวน 23 มาตรา สำหรับสาเหตุแห่งการสิ้นสุดนั้น เกิดจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 10 ซึ่งเป็นฉบับถาวร

ภายใต้การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 9 มีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่รู้จักกันดีคือ

"เหตุการณ์ 14 ตุลา" ในปี 2516 ซึ่งเป็นเหตุให้จอมพลถนอม กิตติขจร ต้องพ้นจากอำนาจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีเข้ามาคลี่คลายสถานการณ์



@ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 10 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
ใน ช่วงที่ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ" ขึ้น และได้จัดร่างรัฐธรรมญนูญ โดยยึดหลักประชาธิปไตยอย่างมาก เมื่อร่างฯเสร็จ สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้ความเห็นชอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทาน ประกาศใช้เมื่อ 7 ตุลาคม 2517 มีจำนวนมาตรา 238 มาตรา

แต่ทว่า 2 ปีต่อมา ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารและประกาศล้มเลิกรัฐธรรมนูญ ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ เป็นกระบวนการที่ติดตามมาจากการกวาดล้าง ปราบปรามขบวนการนักศึกษาในเช้าวันเดียวกัน ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์สำคัญทางหน้าประวัติศาสตร์ไทยอีกครั้งหนึ่ง

ภาย ใต้การใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีรัฐบาล 4 ชุด จากนายกรัฐมนตรี "หม่อมพี่-หม่อมน้อง" คือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช 3 สมัย และ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช 1 สมัย



@ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 11 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
ภาย หลังการยึดอำนาจ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้มีคำสั่ง 6/2519 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2519 แต่งตั้ง "คณะเจ้าหน้าที่ทำงานกฎหมาย" ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ และต่อมาได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 11 มีจำนวน 29 มาตรา ในวันที่ 22 ตุลาคม 2519

แต่หลังจากประกาศใช้ได้ 11 เดือน 28 วัน พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินก็ได้ทำการรัฐประหารซ้ำ และยกเลิกรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับนี้ไป

นายกรัฐมนตรีที่บริหารประเทศช่วงรัฐธรรมนูญชั่วคราว คือ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (8 ตุลาคม 2519-20 ตุลาคม 2520)



@ รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 12 : ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
เกิด จากการที่ คณะรัฐประหาร ซึ่งนำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ นำมาใช้หลังจากที่ได้ทำการรัฐประหารซ้ำ โดยได้วางหลักการไว้กว้างๆ เหมือนกับรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับก่อนๆ

รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีจำนวน 32 มาตรา ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2520 และยกเลิก 22 ธันวาคม 2521 เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (ฉบับถาวร)

รวมเวลา 1 ปี 1 เดือน 13 วัน มีรัฐบาลของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (สมัยที่ 1) บริหารประเทศ




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
@ รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 13 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521

สภา นิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จนแล้วเสร็จ จากนั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาและให้ความเห็นชอบ และเมื่อได้มีมติเห็นชอบแล้ว ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2521 มีจำนวน 206 มาตรา

สำหรับสาเหตุแห่งการสิ้นสุดรัฐ ธรรมนูญฉบับนี้ เกิดจาก คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งนำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ได้ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจจาก พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น และประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534

รวมเวลา 12 ปี 2 เดือน 1 วัน



@ รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 14 : ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
คณะ รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งนำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ได้อ้างเหตุผลในการยึดอำนาจว่า ประการแรก คณะรัฐบาลได้อาศัยอำนาจหน้าที่ทางการเมืองแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองและพวก พ้องอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ประการที่สอง ข้าราชการการเมืองใช้อำนาจรังแกข้าราชการประจำ และประการที่สาม นักการเมืองที่บริหารประเทศมีการรวบอำนาจนำไปสู่การปกครองแบบเผด็จการรัฐสภา

คณะ รสช.จึงได้ทำการรัฐประหาร ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 13 และนำรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาใช้ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534 มีจำนวน 33 มาตรา แล้วยกเลิกไปวันที่ 9 ธันวาคม 2534 หลังจากประกาศใช้ฉบับถาวร

รวมเวลาที่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 คือ 8 เดือน 8 วัน

สำหรับนายกรัฐมนตรีในช่วงรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ นายอานันท์ ปันยารชุน (สมัยที่ 1 : 2 มีนาคม 2534-7 เมษายน 2535)



@ รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 15 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

สภา นิติบัญญัติแห่งชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นยกร่างฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา และให้ความเห็นชอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 มีจำนวน 223 มาตรา

ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ แม้จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม 2535 แต่ คณะ รสช. ก็ได้พยายามสืบทอดอำนาจ โดยผ่านพรรค "สามัคคีธรรม" ซึ่งเป็นพรรรค "นอมินี" ของ รสช. หนุนให้ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ทำให้เกิดการต่อต้านอย่างหนักจากประชาชน จนเกิดเหตุล้อมปราบในเดือนพฤษภาคม 2535 หรือที่รู้จักกันดีในชื่อเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" พล.อ.สุจินดา คราประยูร ต้องพ้นจากตำแหน่ง

รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ยังคงประกาศใช้มาเรื่อยๆ พร้อมกันนั้นก็มีความพยายามในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่คำนึงถึงประชาชน มีส่วนร่วมขึ้นมา และเมื่อแล้วเสร็จ จึงได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 ในวันที่ 11 ตุลาคม 2540

รวมเวลาประกาศใช้ทั้งสิ้น 5 ปี 10 เดือน 2 วัน มีรัฐบาลบริหารประเทศ 5 ชุด



@ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน...คำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ

สมาชิก สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ซึ่งมาจากบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพ ได้จัดทำขึ้นเสร็จ แล้วรัฐสภาสมัยรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 15 พิจารณาให้ความเห็นชอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย แล้วประธานรัฐสภาได้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 มีจำนวน 336 มาตรา

รัฐธรรมนูญที่ประชาชนร่วมกันร่าง ฉบับนี้ ถูกยกเลิก เนื่องจากการรัฐประหารภายใต้การนำของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 รวมเวลา 8 ปี 11 เดือน 8 วัน



@ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 17 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
คณะ ปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน นำมาใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศชั่วคราว ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 โดยมีจำนวน 39 มาตรา

โดยได้ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ทันทีที่รัฐธรรมมนูญฉบับที่ 18 มีผลบังคับใช้



@ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

เป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 มีจำนวนมาตรา 309 มาตรา

ช่วง ที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 17 นั้น ได้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้มี "สภาร่างรัฐธรรมนูญ" (ส.ส.ร.) กำหนดให้ร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จใน 180 วัน นับแต่วันเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก

จากนั้นได้ทำการเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบ และจัดให้มีการออกเสียง "ประชามติ"

การ ลงประชามติมีขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550 โดยผลที่ออกมาคือ ประชาชนลงคะแนน รับร่างรัฐธรรมนูญ 57% ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 41% จึงทำให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่าน และประกาศใช้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศต่อไป 


2. สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 (ฉบับปัจจุบัน)
  

องคมนตรี
ที่มา
:
พระมหากษัตริย์แต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย  
ประธานรัฐสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี  
ประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี
จำนวน
:
ประธานองคมนตรี 1  คน  และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน  18  คน
หน้าที่
:
ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา
วุฒิสภา
ที่มา
:
1. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
2. การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
จำนวน
:
150  คน
1. จำนวน 76 คน มาจากการเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ๆ ละ 1 คน
2. จำนวน 74 คน มาจากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาวุฒิสภา
วาระ
:
6  ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้
1. ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อสิ้นสุดวาระต้องมีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 30  วัน
2. ส.ว. ที่มาจากการสรรหาเมื่อสิ้นสุดวาระต้องมีการสรรหาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน
หน้าที่
:
1. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านมาจากสภาผู้แทนราษฎร
2. ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
3. ควบคุมฝ่ายบริหารด้วยการตั้งกระทู้ และขอเปิดอภิปรายทั่วไป (ส.ว. 1/3)  
4. ให้ความเห็นชอบในการถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คุณสมบัติ
:
1. สัญชาติไทยโดยการเกิด
2. อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์
3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
4. ไม่เป็นบุพการี  คู่สมรส  หรือบุตรของ ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
5. ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองยังไม่เกิน 5 ปี
6. ไม่เป็น ส.ส. หรือเคยเป็นส.ส. และพ้นจากการเป็น ส.ส.มาแล้วยังไม่เกิน 5 ปี
7. ไม่เป็น ร.ม.ต. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพ้นจากการดำรงตำแหน่งยังไม่เกิน 5 ปี
8. ส.ว.ที่มีสมาชิกภาพสิ้นสุดมาแล้วไม่เกิน 2 ปีจะเป็น ร.ม.ต. หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่ได้
สภาผู้แทนราษฎร
ที่มา
:
มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
จำนวน
:
480 คน
1. จำนวน 400 คนมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ๆ ละ 3 คน
2. จำนวน 80 คน มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน  โดยแบ่งเขตพื้นที่ประเทศออกเป็น 8 กลุ่ม
  กลุ่มละ 10 คน
วาระ
:
4  ปี
1. ถ้าครบวาระให้จัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วัน
2. ถ้ายุบสภาให้มีการจัดการเลือกตั้งภายใน 45 60 วัน
3. ห้ามควบรวมพรรคการเมืองในระหว่างอายุของสภาผู้แทนราษฎร
หน้าที่
:
1. แต่งตั้งและควบคุมฝ่ายบริหาร
2. ออกกฎหมาย (พระราชบัญญัติ)
คุณสมบัติ
:
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
3. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90 วัน
4. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือเคยเกิด หรือเคยศึกษา (ไม่น้อยกว่า 5 ปี)  หรือเคยรับราชการ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ไม่น้อยกว่า 5 ปี)  ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
5. ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา และมีการสิ้นสุดสมาชิกภาพมาแล้วไม่
  น้อยกว่า 2  ปี
6. ไม่เป็นผู้บริหาร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
7. ไม่เป็นข้าราชการ  พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ
8. ไม่เป็นคณะกรรมการในองค์กรอิสระ และองค์กรอื่นในรัฐธรรมนูญ
9. ไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ฯลฯ
การร่างพระราชบัญญัติ
1. ผู้เสนอ  -        1.1 คณะรัฐมนตรี
1.2 ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
1.3 ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรฯ)
1.4 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน  (เกี่ยวกับสิทธิ และเสรีภาพของชนชาวไทย กับหน้าที่ของชนชาวไทย)
2. ผู้พิจารณา -        1. สภาผู้แทนราษฎร
2.  วุฒิสภา
3. ผู้ตรา -        พระมหากษัตริย์
3.1 ถ้าเห็นชอบพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
3.2 ถ้าไม่เห็นชอบ ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา
4. มีผลบังคับใช้ -  ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
คุณสมบัติของบุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้ง
1. มีสัญชาติไทย  ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 5 ปี
2. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
3. มีรายชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
 คุณสมบัติของบุคคลที่ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง
1. เป็นภิกษุ  สามเณร  นักพรต  หรือนักบวช
2. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
3. อยู่ในระหว่างต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
4. วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
คณะรัฐมนตรี
ที่มา
:
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการฯ
จำนวน
:
นายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน
วาระ
:
4  ปี
หน้าที่
:
บริหารราชการแผ่นดินตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
1. ด้านความมั่นคง
2. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (ส่วนกลาง , ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น)
3. ด้านศาสนา สังคม สาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
4. ด้านกฎหมาย และการยุติธรรม
5. ด้านการต่างประเทศ
6. ด้านเศรษฐกิจ
7. ด้านที่ดิน  ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
8. ด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญาและพลังงาน
9.  ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
คุณสมบัติ
:
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า
( 4-8  ตามคุณสมบัติของ ส.ว. ข้อ 5 9 ของ ส.ส. ฯ)
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
1. การตั้งกระทู้ ส.ส. หรือ ส.ว.ทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวกับการงานในหน้าที่
2. การเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ
2.1 ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติ  อภิปรายทั่วไป  เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และต้องเสนอชื่อ ผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วย
2.2 ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 6 มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป  เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
2.3 ส.ว.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไป  เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ
3. การถอดถอนออกจากตำแหน่ง
3.1 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า  20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรีฯลฯ ผู้ใดที่ร่ำรวยผิดปกติ  ใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง  ออกจากตำแหน่งต่อประธานรัฐสภา
ศาลรัฐธรรมนูญ
องค์กร  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ที่มา  -  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลดังต่อไปนี้
1. ผู้พิพากษาศาลฎีกา จำนวน 3 คน
2. ตุลาการศาลปกครองสูงสุดจำนวน 2 คน
3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์  จำนวน  2  คน
4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์  จำนวน  2  คน
- ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาลฎีการัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
จำนวน -  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 1 คน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  8  คน
วาระ  -  9  ปี  และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
คุณสมบัติตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า  45  ปี
3. ไม่เป็น ส.ส. , ส.ว. , ข้าราชการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น
4. ไม่เป็น หรือเคยเป็นสมาชิก หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ของพรรคการเมืองในระยะ 3 ปีก่อนดำรงตำหน่ง
หน้าที่  -  1.  พิจารณาและวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดแย้งรัฐธรรมนูญ
    2.   พิจารณาและวินิจฉัยความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา  คณะรัฐมนตรี  
  หรือองค์กร ตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาล
 
ศาลยุติธรรม
องค์กร  -  คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ที่มา  -  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและการให้พ้นตำแหน่งของผู้พิพากษาศาลยุติธรรม  โดยความเห็นชอบ
  ของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
    คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประกอบด้วย
1. ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน
2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละชั้นศาล ได้แก่ ศาลฎีกา  6  คน  ศาลอุทธรณ์  4  คน  ศาลชั้นต้น  2  คน
3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  8  คนและได้รับเลือกจากรัฐสภา
ระดับของศาล  -  มี  3  ระดับ  คือ  ศาลชั้นต้น  ศาลอุทธรณ์  ศาลฎีกา
หน้าที่   1.  พิจารณาคดีต่าง ๆ ตามระดับชั้นของศาล
  2.  ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง  ส.ส.
  และ ส.ว.  
    ศาลอุทธรณ์ มีอำนาจพิจารณา และวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
  สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น
    ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีหน้าที่พิจารณา
ศาลปกครอง
องค์กร  -  คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
ที่มา  -  คณะกรรมการตุลาการศาลปกครองและรัฐสภาเห็นชอบแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบ
  บังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อทรงแต่งตั้ง
จำนวน  -  ประธานศาลปกครองสูงสุด  จำนวน  1  คน และตุลาการศาลปกครอง  12  คน
หน้าที่  -  พิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ  หน่วยงานราชการของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  องค์กรปกครองท้องถิ่นหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน
ระดับของศาล  -  มี  2  ระดับ
1. ศาลปกครองชั้นต้น
2. ศาลปกครองสูงสุด
ศาลทหาร
หน้าที่   -  พิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหาร
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
 มี  4  องค์กร  คือ
1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง  (ก.ก.ต.)
2. ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ค.ต.ง.)
3. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
4. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ที่มา  -  1.  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
    ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
    ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง
    2.  คณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง มีจำนวน 7  คน ได้แก่  ประธานศาลฎีกา   
  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร 
  ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือก  1  คน และบุคคล
  ที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดคัดเลือก  1  คน
  มีหน้าที่คัดเลือกกรรมการการเลือกตั้งจำนวน 3 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา
3.  ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีการพิจารณาสรรหากรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 2 คน เสนอต่อ  
  ประธานวุฒิสภา
4.  วุฒิสภาให้ความเห็นชอบและประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์
  เพื่อทรงแต่งตั้ง
จำนวน  -  ประธานคณะกรรมการเลือกตั้ง  จำนวน  1  คน และกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน  4  คน
หน้าที่  1.  จัดการเลือกตั้งและเพิกถอนการเลือกตั้ง ส.ส. , ส.ว. องค์กรปกครองท้องถิ่น  รวมทั้งการ
  ลงประชามติ
3. ควบคุมการดำเนินการเกี่ยวกับพรรคการเมือง
ผู้ตรวจการแผ่นดิน
ที่มา  -  1.  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
 ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
    2.  คณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน มีจำนวน 7 คน (เหมือนกับคณะกรรมการสรรหา
   คณะกรรมการเลือกตั้ง)  ทำหน้าที่สรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวน  3  คนเสนอต่อประธาน
  วุฒิสภา
    3.  วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ และประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อทรง
  แต่งตั้ง
จำนวน  -  ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวน  1  คน และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จำนวน  2  คน
วาระ  -  6  ปี และให้ดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียว
หน้าที่  -  1.  พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามข้อร้องเรียน  การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือละเว้น
  การปฏิบัติตามกฎหมายของข้าราชการ  พนักงาน  หน่วยงานราชการ  รัฐวิสาหกิจหรือราชการ
  ส่วนท้องถิ่น
    2.  ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
    3.  ติดตามประเมินผลและจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ
ที่มา
-
1.  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของรัฐสภา
  ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการฯ
2.  คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ  มีจำนวน 5  คน
  ประกอบด้วย ประธานฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด , 
  ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  ทำหน้าที่สรรหา  
  คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ จำนวน 9 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา
3.  วุฒิสภาให้ความเห็นชอบและประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อ
  ทรงแต่งตั้ง
จำนวน
-
ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ จำนวน 1  คน และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ จำนวน  8  คน
วาระ
-
9 ปี และดำรงตำแหน่งได้เพียง  1  วาระ
หน้าที่
-
1.  ไต่สวนและวินิจฉัยเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง หรือข้าราชการตั้งแต่
  ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป  ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่
2.  ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  เพื่อ
  ส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
3.  ตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง  รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและ
  หนี้สินของนายกรัฐมนตรี , รัฐมนตรี, ส.ส. ส.ว. ข้าราชการการเมือง ผู้บริหารท้องถิ่น
  และสมาชิกสภาท้องถิ่น
4.  กำกับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ที่มา
:
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามความเห็นชอบของวุฒิสภา
ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการฯ
จำนวน
:
ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 1 คน  และกรรมการตรวจเงินแผ่นดินอีก  6  คน
วาระ
:
6  ปี  และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
หน้าที่
:
1.  กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน
2.  ให้คำแนะนำและเสนอแนะแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน
3.  แต่งตั้งคณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลัง  เพื่อวินิจฉัยคดีทางวินัยทางการเงิน
  และการคลัง
คุณสมบัติ
:
1.  มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน  การบัญชี  การคลังและอื่น ๆ
2.  มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
1. องค์กรอัยการ  -  มีอิสระในการพิจารณาสั่งคดี และการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดย
  เที่ยงธรรม
2. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- ตรวจสอบและรายงานการกระทำ หรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
3. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม  รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การตรวจสอบทรัพย์สินผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไปนี้
1.  นายกรัฐมนตรี  2.  รัฐมนตรี
3.  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  4.  สมาชิกวุฒิสภา
5.  ข้าราชการการเมืองอื่น  6.  ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น
มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของตน  คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ  ทุกครั้งที่รับตำแหน่ง  หรือ พ้นตำแหน่ง

ที่มา http://nongrangga.igetweb.com/index.php?mo=3&art=240678
รายละเอียดเพิ่มเติม
คลิกที่นี่ครับ